Q3.7: การใช้งานหน้ากากในการป้องกันฝุ่นละออง?


A3.7: หากต้องไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีฝุ่นสูง จำเป็นต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง เพราะสามารถช่วยลดผลกระทบจากการได้รับสัมผัส PM2.5 ได้ ดังนั้น จึงควรเลือกและใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองให้ถูกวิธี

การเลือกหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง

1) สังเกตวันหมดอายุ

2) ขนาดเหมาะ ครอบได้กระชับจมูกและใต้คาง

3) ไม่หัก งอ บิดเบี้ยว เปื้อนหรือฉีกขาด ไม่มีกลิ่นฉุน

4) มีสายรัดสองสาย

1. หน้ากากอนามัย (Surgical masks) 

ผลิตขึ้นจากใยสังเคราะห์ เช่น พอลิพรอพิลีน (Polypropylene) ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ โดยหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพจะต้องมีชั้นกรองอย่างน้อย 3 ชั้น เพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรค มลพิษหรือของเหลวจากภายนอก และช่วยดูดซับสารคัดหลั่งหรือความชื้นที่มาจากผู้ใช้ สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ถึง 3-5 ไมครอน



2
. หน้ากากกรองอากาศ (Respirators)

ในมาตราฐานของ สมอ. เรียกว่า “อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจคือ อุปกรณ์ที่มีตัวกรองไว้ในตัวเพื่อกรองอนุภาค ดูดซับก๊าซและไอในขณะเดียวกัน มีแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งออกแบบที่ทำให้ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาหลังใช้งาน และทิ้งไปเมื่อรู้สึกว่ามีแรงต้านทานการหายใจสูงเกินไป หรือดูดซับหมดสภาพ หรือเสียรูปทางกายภาพ หรือมีสิ่งบ่งชี้ว่าไม่เหมาะสมที่จะใช้งานอีกต่อไป เช่น หน้ากาก N95


ตารางเปรียบเทียบระหว่างหน้ากากอนามัย (Surgical masks) กับ หน้ากากกรองอากาศ (Respirators)

ชนิดหน้ากาก หน้ากากอนามัย (Surgical masks) หน้ากากกรองอากาศ (Respirators)
รูปภาพ
การใช้งาน • การออกแบบสวมใส่ : ไม่แนบกระชับกับใบหน้า มีช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากาก ทำให้อากาศที่ไม่ถูกกรองไหลผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้

• ช่วยดักอนุภาคขนาดใหญ่จากผู้สวมใส่ เช่น น้ำลายหรือน้ำมูก ไปสู่บรรยายกาศโดยรอบ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือในบริเวณปลอดเชื้อ รวมถึงอาจใช้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการกระเด็นหรือละอองของเลือด (Blood) ของเหลวในร่างกาย (Body fluid) สารคัดหลั่ง (Secretion) และของเสียจากการขับถ่าย (Excretion) เข้าสู่ปากและจมูกของผู้สวมใส่

• วิธีสวมใส่
1. นำบานพับคว่ำลง ให้ขอบที่มีแถวลวด อยู่ด้านบน
2. ดึงสายรัดทั้งสองข้างคล้องหู
3. กดแถบลวดให้แนบสันจมูก
4. ดึงหน้ากากให้คลุมถึงใต้คาง

ป้องกันเชื้อโรคหรืออนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 5 ไมครอน
การออกแบบสวมใส่ : แนบกระชับกับใบหน้า ด้วยสายรัดศีรษะหรือสายคล้องหู และแถบอลูมิเนียมสำหรับปรับให้เข้ากับรูปจมูก มีความแนบกระชับกับใบหน้า เพื่อให้อากาศที่เราหายใจเข้าไปถูกกรองจะผ่านชั้นกรองของหน้ากากโดยไม่รั่วตามช่องว่างระหว่างหน้ากากกับใบหน้าผู้สวมใส่

ช่วยกรองอนุภาคปนเปื้อนจากอากาศ เมื่อสวมใส่อย่างแนบกระชับช่วยลดการรับสัมผัสอนุภาคหรือเชื้อโรคที่อาจหายใจเข้าไป เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อนุภาค แก๊ส หรือไอระเหย เชื้อรา ไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ไวรัสไข้หวัดนก(Avian Flu) ไวรัสอีโบลา (Ebola Virus) แบคทีเรียก่อโรควัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) เป็นต้น

• วิธีสวมใส่
1. สวมหน้ากากให้กระชับกับใบหน้า ดึงสายรัดทั้งสองข้างคล้องหู หรือบางรุ่นให้ดึงสายรัดทั้งสองให้โอบรัดที่ศีรษะให้แน่น
2. กดโครงลวดให้แนบสันจมูก
3. ทดสอบการแนบสนิทของหน้ากาก (Fit test) โดยใช้มือสองข้างโอบรอบหน้ากากหายใจออกแรงกว่าปกติ ถ้าแนบสนิทกับใบหน้าจะไม่มีการรั่วของลมหายใจ

• ป้องกันเชื้อโรคหรืออนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 0.3 ไมครอน



หน้ากรองอากาศ (Respirators) มีหลายยี่ห้อ หลายขนาด หลายรูปแบบ สามารถเลือกได้โดยพิจารณาจากประสิทธิภาพการกรอง ขนาดที่กระชับกับใบหน้า เนื่องจากไม่มีหน้ากากเฉพาะกลุ่ม และรูปแบบต่าง ๆ ของหน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสบายขณะสวมใส่

หน้ากากรองอากาศที่ได้รับการรับรองประสิทธิภาพการกรองตามมาตรฐานสากล เช่น

- มาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)
  • หน่วยงาน NIOSH
  • ระดับมาตรฐาน N95, Surgical N95, N99, N100, R95, P95, P99, P100

  • - มาตรฐานประเทศจีน (China)
  • มาตรฐาน GB2626-2006
  • ระดับ KN90, KP90, KN95, KP95, KN100, KP100

  • - มาตรฐานไต้หวัน (Taiwan)
  • มาตรฐาน CNS15980:2017
  • ระดับ Class A, Class B

  • - มาตรฐานสหภาพยุโรป (Europe)
  • มาตรฐาน EN149:2001
  • ระดับ FFP1, FFP2, FFP3

  • - อื่น ๆ ได้แก่ มาตรฐานออสเตรเลีย AS/NZS

    ลักษณะการออกแบบเพื่อให้กระชับกับใบหน้า ได้แก่

    Cup Shape (รูปทรงถ้วย) คงรูป ค่อนข้างแข็ง กระชับใบหน้า ไม่สัมผัสกับใบหน้า

    Flat fold 2 Panel (พับสองชิ้น) สวมใส่สบายกว่าแบบ Cup Shape สะดวกในการเก็บและพกพา

    V-shaped pleats (พับสองชิ้น) โค้งรับใบหน้า ปกปิดมิดชิด สะดวกในการจัดเก็บและพกพา

    Flat fold 3 Panel (พับสามชิ้น) แนบกระชับใบหน้า ปกปิดมิดชิด เวลาหายใจจะไม่ยุบเข้า-ออก เนื่องจากตรงกลางเป็นโครงแข็ง สะดวกในการจัดเก็บและพกพา

    นอกจากนี้ ยังมีทั้งแบบมีวาล์วระบายอากาศกับแบบไม่มีวาล์วระบายอากาศ ซึ่งวาล์วระบายอากาศจะช่วยระบายความร้อนและความชื้นที่สะสมภายในหน้ากาก โดยวาล์วจะเปิดตอนที่เราหายใจออก และปิดตอนที่หายใจเข้า ทำให้มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศเช่นเดิม แต่ระบายอากาศได้ดีขึ้น

    ทั้งนี้ หน้ากากกรองอากาศ (Respirators) สามารถใช้ซ้ำได้ แต่ควรเปลี่ยนเมื่อใส่แล้วหายใจลำบากมากขึ้น หรือฉีกขาด ใส่แล้วไม่กระชับดังเดิม เปื้อนสารคัดหลั่ง หรือเปียก

    แต่หากใส่หน้ากากกรองอากาศ แล้วมีอาการหายใจไม่สะดวก **แน่นหน้าอก เมื่อยล้า หรือปวดศีรษะ ให้ถอดหน้ากากออกและเปลี่ยนวิธีป้องกันตนเอง เช่น เข้าไปอยู่ในอาคารหรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นสูง เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในที่มีฝุ่นสูงไม่สามารถหาหน้ากากกรองอากาศได้ สามารถใช้หน้ากากอนามัยแทนได้ แม้ประสิทธิภาพจะไม่เท่ากับหน้ากากกรองอากาศ แต่ก็ยังสามารถใช้บรรเทาการป้องกันฝุ่นละอองได้

    คำแนะนำการใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองในแต่ละกลุ่มเสี่ยงดังนี้

    ประเภทหน้ากาก ภาพ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์
    และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว
    ผู้ที่ออกกำลังกาย กลุ่มผู้ทำงานนอกอาคารเป็นเวลานาน
    เช่น ตำรวจ จราจร คนขับมอเตอร์ไซต์รับจ้างและรถตุ๊กตุ๊ก แรงงานก่อสร้าง พ่อค้าแม่ค้าริมถนน คนกวาดถนน
    1. หน้ากากอนามัย
    2. หน้ากากกรองอากาศ (Respirators)
    - ชนิด N95**
    1) แบบพับได้ : พับเก็บได้ ง่ายต่อการพกพา


    2) แบบพับไม่ได้และมีวาล์ว : หายใจสะดวก เนื่องจากมีวาล์วระบายความชื้น
    ปรึกษาแพทย์ก่อนสวมใส่ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือด หัวใจหรือโรคปอดเหนื่อยกว่าปกติ

    ผลกการทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของหน้ากากประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการใช้วัสดุเสริม เช่น ทิชชู หรืออื่น ๆ โดย รองศาสตรจารย์ ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม Research Unit of Applied Electric Field in Engineering (RUEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตดอยสะเก็ด ในการทดสอบประสิทธิภาพแผ่นกรองอนุภาคขนาดเล็กนี้ใช้เครื่อง Atomizer Aerosol Generator ของบริษัท TSI โมเดล 3076 ประสิทธิภาพการกรองเฉลี่ยที่อนุภาคขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน (Filter test)

    หมายเหตุ กระดาษทิชชูที่ใช้ในการทดสอบ เป็นแบบกระดาษทิชชูดูดซับ (กระดาษดูดซับในครัว)

    หมายเหตุ หน้ากากผ้า เป็นแบบที่มีขายในตลาดทั่วไป

    หมายเหตุ หน้ากากกรองอากาศ เช่น N95 มีประสิทธิภาพป้องกันฝุ่นได้ตั้งแต่ 95% ที่อนุภาค 0.3 ไมครอน

    คนส่วนใหญ่มักจะเลือกชื้อหน้ากากป้องกันฝุ่นที่มีประสิทธิภาพการกรองสูง ๆ ที่เขียนตามฉลากว่าสามารถกรอง PM2.5 ได้ 99 % และได้รับรองมาตรฐานตามสถาบันต่าง ๆ นอกจากเราจะพิจารณาในเรื่องประสิทธิภาพแล้ว ขนาดและรูปแบบของหน้ากากที่เหมาะสม กระชับและเข้ากับใบหน้า ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเลือกด้วย หากประสิทธิภาพการกรองของหน้ากากสูงจริงแต่ใส่แล้วไม่กระชับพอดีกับใบหน้าก็เท่ากับว่าหน้ากากไม่ได้ทำหน้าที่กรองฝุ่นให้เลย เพราะมีการรั่วบริเวณที่หน้ากากไม่แนบสนิทกับใบหน้า ตัวอย่างในรูปนี้ ประสิทธิภาพการกรองของวัสดุหน้ากากตัวนี้ 99.50 % แต่พอเอามาใส่กับหน้าแล้วทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Respirator Fit Test) ผลปรากฏว่า “ไม่ผ่าน” เนื่องจากหน้ากากมีขนาดใหญ่กว่าใบหน้า ใส่แล้วไม่กระชับ ทำให้ประสิทธิการกรองจาก 99.47 เหลือ 20-30%


    ตัวอย่าง การทดสอบการแนบสนิทกับใบหน้า

    ดังนั้นการเลือกใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นควรเลือก 2 หลักการสำคัญดังนี้

    1. แผ่นกรองอากาศ (Filter test) → พิจารณาจากเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

    2. การแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Respirator Fit Test) → เลือกขนาดที่เหมาะสมกับใบหน้าเพื่อให้ครอบกระชับ (แบบ 3D) และทำการทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) ในการใส่ทุกครั้ง โดยใช้มือทั้งสองข้างโอบรอบหน้ากาก จากนั้นลองหายใจออกแรง ๆ กว่าปกติ ถ้าหน้ากากยังแนบสนิทจะไม่มีการรั่วของลมหายใจออกมา)

    ทั้งนี้ ก่อนและหลังการใส่หน้ากากทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาด รวมทั้งห้ามใช้หน้ากากร่วมกับคนอื่น

    และห้ามนำไปซักแล้วนำมาใช้ใหม่ เนื่องจากเป็นหน้ากากที่ใช้ได้ครั้งเดียว

    **สามารถหาซื้อหน้ากากได้ที่ตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ร้านขายยา และร้านวัสดุก่อสร้าง**


    (แหล่งที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)